วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

ชองระอา

ชองระอาชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleriaiupulina Lindl.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : เสลดพังพอน, เสลดพังพอนตัวผู้

รูปลักษณะ : ชองระอา เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 เมตร มีหนามแหลมยาวข้อละ 2 คู่ กิ่งก้านสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกยาวหรือ รูปขอบขนาน กว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 6-12 ซม. ผิวใบเรียบมัน สีเขียวเข้ม เส้นกลางใบสีแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 8 ซม. ใบประดับค่อนข้างกลม สีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่ กลีบดอกสีเหลืองส้ม โคนเชื่อมติดเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมีกลีบขนาดใหญ่ 4 กลีบ กลีบล่างเล็กกว่า มี 1 กลีบ ผล เป็นฝัก รูปไข่

สรรพคุณของ ชองระอา : ใบใช้ตำละเอียดผสมเหล้า พอกหรือทา ถอนพิษอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อยและเริม ราก ใช้ฝนกับเหล้าทาถอนพิษตะขาบ

กระแจะ

กระแจะชื่อวิทยาศาสตร์ : Naringi crenulata (Roxb.), Nicolson (Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.)
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : ขะแจะ, ตุมตัง, พญายา

รูปลักษณะ : กระแจะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่สลับ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-7 ซม. ก้านใบแผ่เป็นปีก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม

สรรพคุณของ กระแจะ : แก่น ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง), ลำต้น ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น แก้อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนใน, เปลือกต้น แก้ไข้ บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส

แฝกหอม

แฝกหอมชื่อวิทยาศาสตร์ : Vetiveria zizanioides (Linn.) Nash ex Small
ชื่อวงศ์ : POACEAE
ชื่ออื่น : แกงหอม, แคมหอม, แฝก, หญ้าแฝกหอม

รูปลักษณะ : แฝกหอม เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 1-2 เมตร รากมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 120 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีม่วงอมเขียว ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ แฝกหอม : ราก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้องจุกเสียด ท้องอืด ลดไข้และขับปัสสาวะ

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2552

การบูร

การบูรชื่อวิทยาศาสตร์ : Camphor Tree, Cinnamomum camphora (Linn.) Presl
ชื่อวงศ์ : LAURACEAE

รูปลักษณะ : การบูร เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร กิ่งก้านเรียบเกลี้ยง ยอดอ่อนมีใบเกล็ดสีเหลืองแกมน้ำตาลหุ้ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. มีกลิ่นหอม ดอกช่อออกที่ซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีนวล ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก

สรรพคุณของ การบูร : เนื้อไม้ เมื่อนำเนื้อไม้มากลั่นไอน้ำ จะได้สารที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว คือ การบูร (Camphor) ใช้ผสมในยาน้ำ มีสรรพคุณบำรุงธาตุ ขับเสมหะ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับเหงื่อ ใช้ผสมในยาหม่อง ยาขี้ผึ้ง ยาครีมทาแก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2552

กระดังงาไทย

กระดังงาไทยชื่อวิทยาศาสตร์ : Kenanga, Ylang Ylang, Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. et. Th.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่, กระดังงาใหญ่, สะบันงา

รูปลักษณะ : กระดังงาไทย เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำ

สรรพคุณของ กระดังงาไทย : ดอก มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด

วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552

เกี่ยวกับตำราสมุนไพรไทย




                สมุนไพร ตาม พระราชบัญญัติยา หมายถึง "ยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ ซึ่งยังไม่ได้ผสม ปรุง หรือเปลี่ยนสภาพ"หรือพูดง่ายๆคือพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ปรุงหรือประกอบเป็นยารักษา โรคต่าง ๆ ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย พืชสมุนไพรในตำราไทยนั้นมีหลากหลายชนิดแต่ละชนิดล้วนมีความแตกต่างกันออกไป เริ่มตั้งแต่ ชื่อ ที่ใช้เรียกยังมีความต่างกันไป ทั้งลักษณะ เช่น ราก ,ลำต้น,ใบ,ดอก,ผล  และยังมีประโยชน์มากมาย เช่น สามารถรักษาโรคบางชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งบางชนิดอาจมีราคาแพง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก 
               ปัจจุบันความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ซะอีกค่ะ
          ในตำราสมุนไพรไทยนี้ได้รวบรวมพืชสมุนไพรหลายประเภทไว้ด้วยกันคุณสามารถค้นหาสมุนไพรที่คุณต้องการได้ตามประเภทที่เเยกไว้ได้เลยค่ะ
          

           เกี่ยวกับเจ้าของ ตํารายาไทย.blogspot.com
        พอมีความรู้เรื่อง พืชสมุนไพรบ้าง!! + กับความชอบด้านสุขภาพมีความตั้งใจอยากทำเรื่องนี้ขึ้นเพื่อให้ความรู้กับบุคคลที่สนใจด้านนี้เช่นกัน อยากให้ทุกๆคนช่วยกันอนุรักษ์มรดกในท้องถิ่นของเราไว้เพื่อการดำเนินชีวิตของเราจะได้ใกล้ชิดธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และยังทำให้เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทยอีกด้วย จ้า ^^

"สมุนไพรไทย" อยู่ใกล้ตัว มีประโยชน์กว่า"น้ำอัดลม" ขอบคุณค่ะ :)











ติดต่อได้ที่





กระดังงาสงขลา

กระดังงาสงขลาชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata (Lank.) Hook. f. et. Th., var.fruticosa (Craib) J. Sincl.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กระดังงอ, กระดังงาเบา, กระดังงาสาขา

รูปลักษณะ : กระดังงาสงขลา เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 10-18 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเขียวแกมเหลือง กลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล

สรรพคุณของ กระดังงาสงขลา : ดอก เป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดังงาไทย