วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เล็บมือนาง

เล็บมือนางชื่อวิทยาศาสตร์ : Rangoon Creeper, Quisqualis indica Linn.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่ออื่น : จะมั่ง, จ๊ามั่ง, มะจีมั่ง

รูปลักษณะ : เล็บมือนาง เป็นไม้เถา เนื้อแข็ง ต้นแก่มักมีกิ่งที่เปลี่ยนเป็นหนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5-8 ซม. ยาว 10-16 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ บริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดง โคนกลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียวยาว สีเขียว ผลแห้ง รูปกระสวย มีเปลือกแข็งสีน้ำตาลเข้ม มีสันตามยาว 5 สัน

สรรพคุณของ เล็บมือนาง : เนื้อในเมล็ดแห้ง ใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน สำหรับเด็ก กินครั้งละ 2-3 เมล็ด และผู้ใหญ่ครั้งละ 4-5 เมล็ด โดยนำมาป่นเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน หรือต้มเอาน้ำดื่ม หรือทอดกับไข่กินก็ได้ สารที่มีฤทธิ์ขับพยาธิ เป็นกรดอะมิโน ชื่อกรด Quisqualic

มะเกลือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : EbonyTree, Diospyros mollis Gagnep.
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE
ชื่ออื่น : ผีเผา, มักเกลือ

รูปลักษณะ : มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่ หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-7 ซม. สีเขียวเข้ม เมื่อแห้งสีดำ ดอกออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ ประมาณ 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลือง ผลสด รูปกลมเกลี้ยง ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีดำ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดอยู่ที่ขั้วผล

มะเกลือสรรพคุณของ มะเกลือ : ผลดิบสด ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้หลายชนิด ถ่ายพยาธิปากขอได้ดีที่สุด เด็กอายุ 10 ปีใช้ 10 ผล ผู้ที่อายุมากกว่า 10 ปี ให้เพิ่มจำนวนขึ้น 1 ผลต่อ 1 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 25 ผล คือผู้ที่อายุ 25 ปีขึ้นไปกิน 25 ผลเท่านั้น ล้างให้สะอาด ตำพอแหลก กรองเอาเฉพาะน้ำผสมหัวกะทิ 2 ช้อนชาต่อมะเกลือ 1 ผล กินครั้งเดียวให้หมดตอนเช้ามืด ก่อนอาหาร 3 ชั่วโมง หลังจากนี้ 3 ชั่วโมง ถ้าไม่ถ่ายให้กินยาระบายดีเกลือ โดยใช้ผงดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ ประมาณครึ่งแก้ว เพื่อถ่ายพยาธิ และตัวยาที่เหลือออกมา สารที่มีฤทธิ์คือ Diospyrol Diglucoside

ข้อควรระวัง
ผู้ที่ห้ามใช้มะเกลือได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี หญิงมีครรภ์ หรือหลังคลอดไม่เกิน 6 สัปดาห์ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือมีอาการปวดท้อง ถ่ายอุจจาระผิดปกติบ่อยๆ และผู้ที่กำลังเป็นไข้ ในการเตรียมยาต้องใช้ผลดิบสด เตรียมแล้วกินทันที ไม่ควรเตรียมยาครั้งละมากๆ ใช้เครื่องบดไฟฟ้า จะทำให้ละเอียดมาก มีตัวยาออกมามากเกินไป

ข้อควรระวัง
เคยมีรายงานว่าถ้ากินยามะเกลือขนาดสูงกว่าที่ระบุไว้ หรือเตรียมไว้นาน สารสำคัญจะเปลี่ยนเป็นสารพิษชื่อ Diospyrol ทำให้จอรับภาพ และประสาทตาอักเสบ อาจตาบอดได้

ทับทิม

ทับทิมชื่อวิทยาศาสตร์ : Pomegranate, Punica granatum Linn.
ชื่อวงศ์ : PUNICACEAE
ชื่ออื่น : พิลา, พิลาขาว, มะก่องแก้ว, มะเก๊าะ

รูปลักษณะ : ทับทิม เป็นไม้พุ่ม สูง 2-5 เมตร กิ่งเล็กๆ มักเปลี่ยนเป็นหนามแหลม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-6 ซม. ใบอ่อนมีสีแดง ดอกเดี่ยว หรือช่อ 2-5 ดอก ออกที่ซอกใบและปลายยอด กลีบดอกสีส้มแดง ร่วงง่าย กลีบเลี้ยงหนาแข็ง สีส้ม แกมเหลือง ผลเป็นผลสด รูปกลม

สรรพคุณของ ทับทิม : เปลือกผล ใช้เปลือกผลแก่ตากแห้ง รักษาอาการท้องร่วง ขนาดที่ใช้คือ เปลือกผลแห้ง ประมาณ 1 ใน 4 ผล ฝนหับน้ำให้ข้นๆ กินวันละ 1-2 ครั้ง การกินขนาดสูงอาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ ใช้ฝนกับน้ำทาแก้น้ำกัดเท้า พบว่ามีสารแทนนิน และกรดแทนนิกซึ่งช่วยฝาดสมาน เปลือกราก, เปลือกต้น มีสาร Pelletierine และ Isopelletierine ซึ่งเป็นพิษจึงไม่ควรใช้

ส้มเช้า

ส้มเช้าชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia ligularia Roxb.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

รูปลักษณะ : ส้มเช้า เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 เมตร กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีหนามแข็งตามมุม เรียงเป็นแถวตามยาว มีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกช่อ รูปถ้วย ออกตามกิ่งก้าน ใบประดับสีเหลือง ดูคล้ายกลีบดอก ดอกย่อยแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ ส้มเช้า : มีสรรพคุณและข้อควรระวังเช่นเดียวกับสลัดได ลำต้นและเปลือก ใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาถ่าย

สลัดได

สลัดไดชื่อวิทยาศาสตร์ : Malayan Spurge Tree, Euphorbia antiquorum Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กะลำพัก, เคียะผา, เคียะเลี่ยม, หนอนงู

รูปลักษณะ : สลัดได เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม อวบน้ำ เว้าคอดต่อกัน ตามแนวสันหรือเหลี่ยมมีหนามแข็ง 1 คู่ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก อวบน้ำ หลุดร่วงง่าย จึงดูคล้ายไม่มีใบ ดอกช่อ สั้น ออกในแนวสันเหนือหนาม ใบประดับสีเหลือง ดอกตัวผู้และตัวเมียไม่มีกลีบดอก อยู่ในช่อเดียวกัน ผลแห้ง แตกได้ ขนาดเล็ก มี 3 พู

สรรพคุณของ สลัดได : ยางจากต้น มีพิษระคายเคือง ต้องลดความเป็นพิษด้วยการ &Quot;ประสะ&Quot; โดยนึ่งยางให้สุก แล้วตากให้แห้ง ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง ยางสดใช้เป็นยากัดหูด ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะพบสาร 3-0-Angeloylingenol ซึ่งเป็นสารร่วมก่อมะเร็ง (Co-Carcinogen) ต้นที่แก่จัด จะเกิดแก่นแข็ง เรียกว่า &Quot;กะลำพัก&Quot; มีกลิ่นหอม ใช้แก้ไข้

สลอด

สลอดชื่อวิทยาศาสตร์ : Purging Croton, Croton tiglium Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : มะข่าง, มะคัง, มะตอด, หมากทาง, หัสคึน, ลูกผลาญศัตรู, สลอดต้น, หมากหลอด

รูปลักษณะ : สลอด เป็นไม้พุ่ม สูง 3-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง 4-7 ซม. ยาว 7-10 ซม. ใบสีเขียวอ่อนแกมน้ำตาล ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ประกอบด้วยดอกตัวเมียอยู่ด้านล่าง ดอกตัวผู้อยู่ด้านบน ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู ภายในมี 1-3 เมล็ด

สรรพคุณของ สลอด : เมล็ด ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง แต่พบว่ามีฤทธิ์รุนแรงมาก ต้องระวังขนาดที่ใช้ ปัจจุบันจัดเป็นพืชมีพิษ