วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

สารภี

สารภีชื่อวิทยาศาสตร์ : Mammea siamensis Kosterm.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : ทรพี, สร้อยพี, สารภีแนน

รูปลักษณะ : สารภี เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่ กลับแกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. เนื้อใบค่อนข้างเหนียวและหนา ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ผลเป็นผลสด รูปกระสวย

สรรพคุณของ สารภี : ดอกแห้ง ตำรายาไทยใช้ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ชูกำลัง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า

หนามแดง หรือ มะนาวโห่

หนามแดงชื่อวิทยาศาสตร์ : Maytenus marcanii (Craib) Ding Hou
ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE

รูปลักษณะ : หนามแดง ชื่อเรียกทั่วไป มะนาวโห่ เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 3-4 เมตร กิ่งก้านมีหนามแหลมยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-9 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาวนวล ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู เมล็ดสีน้ำตาล

สรรพคุณของ หนามแดง : แก่น ใช้บำรุงธาตุ บำรุงไขมัน เหมาะสำหรับคนผอม ราก แก้ไข้

มะหาด

มะหาดชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus lakoocha Roxb.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : หาด, ขนุนป่า, มะหาดใบใหญ่

รูปลักษณะ : มะหาด เป็นไม้ยึนต้น สูงประมาณ 30 เมตร ทรงพุ่มแผ่กว้าง ใบ เดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนาน หรือรูปวงรี กว้าง 8-10 ซม. ยาว 10-12 ซม. หลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบสาก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ค่อนข้างกลม ก้านสั้น แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ผล เป็นผลรวม สีเหลือง ผิวขรุขระ มีขนนุ่น

สรรพคุณของ มะหาด : เนื้อไม้ นำมาเคี่ยวกับน้ำ กรองเนื้อไม้ออก บีบน้ำออกให้แห้ง จะได้ผงสีนวลจับกันเป็นก้อน ย่างไฟให้เหลือง เรียกว่า ปวกหาด ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน และพยาธิตัวตืด สารที่ออกฤทธิ์คือ 2,4,3',5'-Tetrahydroxystibene ละลายผงปวกหาดจำนวน 3 กรัม ในน้ำเย็น ดื่มช่วงเช้ามืด ก่อนอาหาร หลังจากนั้น 2 ชั่วโมง ให้กินยาถ่าย เช่น ดีเกลือ เพื่อถ่ายตัวพยาธิ

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พญาปล้องทอง

พญาปล้องทองชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด, พญาปล้องคำ, พญาปล้องดำ, พญายอ, เสลดพังพอน, เสลดพังพอนตัวเมีย

รูปลักษณะ : พญาปล้องทอง เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. สีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบสีเขียวติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ไม่ค่อยออกดอก ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ พญาปล้องทอง : ใบสด ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย ผื่นคัน โดยนำใบสด 5-10 ใบ ตำหรือขยี้ทา ใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กก. ปั่นละเอียด เติมแอลกอฮอล์ 70% 1 ลิตร หมัก 7 วัน แล้วกรอง ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำ ให้ปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง เติมกลีเซอรินเท่าตัว

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ผักบุ้งทะเล

ผักบุ้งทะเลชื่อวิทยาศาสตร์ : Goat's Foot Creeper, Ipomoea pes-caprae (Linn.) R. Br.
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

รูปลักษณะ : ผักบุ้งทะเล เป็นไม้ล้มลุก เลื้อยตามผิวดิน มักพบในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมียาวขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 7-11 ซม. ยาว 5-8 ซม. ค่อนข้างหนา โคนใบรูปหัวใจ ปลายเว้าลึก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ มี 4-6 ดอก กลีบดอกสีม่วงชมพู โคนติดกัน ปลายบานออกคล้ายปากแตร ผลแห้ง แตกได้ รูปกลมหรือรูปไข่

สรรพคุณของ ผักบุ้งทะเล : ใบ ใช้แก้พิษแมงกะพรุน นำใบสด 10-15 ใบ ตำละเอียด คั้นเอาน้ำ ทาแผลบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน หรือตำกับเหล้าใช้พอกก็ได้ พบว่ามีสาร damascenone ที่มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ ต้านพิษแมงกะพรุนได้

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มะลิฝรั่งเศส

มะลิฝรั่งเศสชื่อวิทยาศาสตร์ : Spanish Jasmine, Catalonian Jasmine, Jasminum officinale Linn. f. var.grandiflorum (Linn.) Kob.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น : จัสมิน, พุทธชาดก้านแดง

รูปลักษณะ : มะลิฝรั่งเศส เป็นไม้เถา ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย5-7 ใบ รูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว หลังกลีบสีแดง มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของ มะลิฝรั่งเศส : ดอกสด มีน้ำมันหองระเหย ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กลั่นไอน้ำทำเป็นหัวน้ำหอม สำหรับแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มะลิลา

มะลิลาชื่อวิทยาศาสตร์ : Arabian Jasmine, Jasminum sambac Ait.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น : มะลิซ้อน, ข้าวแตก, มะลิ, มะลิขี้ไก่, มะลิป้อม, มะลิหลวง

รูปลักษณะ : มะลิลา เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ใบประกอบ ชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. สีเขียวแกมเหลือง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม มะลิลามีกลีบดอกชั้นเดียว ส่วนมะลิซ้อนมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ มะลิลา : ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ปรุงยาหอม ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ไข้

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มณฑา

มณฑาชื่อวิทยาศาสตร์ : Magnolia, Talauma candollii Bl.
ชื่อวงศ์ : MAGNOLIACEAE
ชื่ออื่น : ยี่หุบ, จอมปูน, จำปูนช้าง

รูปลักษณะ : มณฑา เป็นไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 8-12 ซม. ยาว 15-18 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม

สรรพคุณของ มณฑา : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พิมเสนต้น

พิมเสนต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pogostemon cablin (Blanco) Benth.
ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE

รูปลักษณะ : พิมเสนต้น เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-75 ซม. ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 7-10 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวประม่วง ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ พิมเสนต้น : ใบ ใบและต้นมีกลิ่นหอม ยาไทยใช้ใบปรุงเป็นยาลดไข้

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พิกุล

พิกุลชื่อวิทยาศาสตร์ : Bullet Wood, Mimusops elengi Linn.
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่ออื่น : กุน, แก้ว, ซางดง, พิกุลป่า

รูปลักษณะ : พิกุล เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-25 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-12 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก 2-6 ดอก ที่ซอกใบ กลีบดอกสีนวล กลิ่นหอม ผลเป็นผลสด รูปไข่

สรรพคุณของ พิกุล : ดอก ดอกมีกลิ่นหอม จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ น้ำมันหอมระเหยจากดอก ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เปลือกต้น ต้มอมกลั้วคอ แก้โรคเหงือกอักเสบ เนื้อไม้ เนื้อไม้ที่ราลง มีน้ำตาลเข้มประขาว มีกลิ่นหอม เรียกว่า &Quot;ขอนดอก&Quot; ใช้บำรุงตับ ปอด หัวใจ และบำรุงครรภ์

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อบเชย

อบเชยชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum sp.
ชื่อวงศ์ : LAURACEAE

รูปลักษณะ : อบเชย เป็นไม้ยืนต้น สูง 4-10 เมตร เปลือกต้นและใบมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. มีเส้นใบหลัก 3 เส้น ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ อบเชย : เปลือกต้น กลั่นไอน้ำได้น้ำมันอบเชย ปรุงผสมในยาน้ำ แก้จุกเสียด แน่นท้อง ปรุงผสมเป็นยาหอมและยานัตถุ์ ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย

สารภี

สารภีชื่อวิทยาศาสตร์ : Mammea siamensis Kosterm.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : ทรพี, สร้อยพี, สารภีแนน

รูปลักษณะ : สารภี เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่ กลับแกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. เนื้อใบค่อนข้างเหนียวและหนา ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ผลเป็นผลสด รูปกระสวย

สรรพคุณของ สารภี : ดอกแห้ง ตำรายาไทยใช้ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ชูกำลัง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สายหยุด

สายหยุดชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmos chinensis Lour.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กล้วยเครือ, เครือเขาแกลบ, สาวหยุด, เสลาเพชร

รูปลักษณะ : สายหยุด เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-5 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น กิ่งแก่เกลี้ยง สีดำ มีช่องอากาศจำนวนมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-15 ซม. ผิวใบด้านบนเป็นมัน ท้องใบมีนวล ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ เริ่มแรกสีเขียวต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยคล้ายสร้อยลูกปัด คอดเป็นข้อๆ มีได้ถึง 7 ข้อ เมื่อสุกสีดำเป็นมัน ห้อยลง

สรรพคุณของ สายหยุด : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ ต้นและราก ใช้เข้ายาอบ รักษาอาการติดยาเสพติด

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สะระแหน่ญี่ปุ่น

สะระแหน่ญี่ปุ่นชื่อวิทยาศาสตร์ : Japanese Mint, Mentha arvensis Linn. var.piperascens Malinvaud
ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE

รูปลักษณะ : สะระแหน่ญี่ปุ่น เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงได้ถึง 60 ซม. ลำต้นสี่เหลี่ยมเลื้อยแผ่ไปตามดิน ทุกส่วนมีกลิ่นเฉพาะ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 3-6 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่างๆ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง มี 4 ผลย่อย ขนาดเล็ก

สรรพคุณของ สะระแหน่ญี่ปุ่น : ต้นและใบ น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากต้นและใบ เรียกว่า &Quot;น้ำมันสะระแหน่ญี่ปุ่น&Quot; มีส่วนประกอบหลักเป็นสารเมนทอล (Menthol) ใช้เป็นยาขับลม และสารแต่งกลิ่นยา อาหารและยาสีฟัน ใช้เป็นยาภายนอก บรรเทาอาการปวดเมื่อย

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประยงค์

ประยงค์ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaia odorata Lour.
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ชื่ออื่น : ขะยง, ขะยม, พะยงค์, ยม, หอมไกล

รูปลักษณะ : ประยงค์ เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 3 เมตร มีใบดก ปลายยอดอ่อน หุ้มด้วยใบเกล็ดสีน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 5 ใบ รูปไข่กลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2-4 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นช่อโปร่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กประมาณ 2 มม. กลิ่นหอม กลีบดอกสีเหลือง ผลสด มี 1-2 เมล็ด

สรรพคุณของ ประยงค์ : ราก ใช้กินถอนพิษเบื่อเมา เป็นยาทำให้อาเจียน

ลำดวน

ลำดวนชื่อวิทยาศาสตร์ : Melodorum fruticosum Lour.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : หอมนวล

รูปลักษณะ : ลำดวน เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 8 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 7-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองนวล หนา ผลเป็นผลกลุ่ม

สรรพคุณของ ลำดวน : ดอกแห้งจัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเก้า เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลม

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ยอ

ยอชื่อวิทยาศาสตร์ : Indian Mulberry, Morinda citrifolia Linn.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น : มะตาเสือ, ยอบ้าน

รูปลักษณะ : ยอ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่น เป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง

สรรพคุณของ ยอ : ผล ตำรายาของเวียดนาม ระบุว่า ผลเป็นยาขับเลือดต่างๆ ขับประจำเดือนด้วย ยาไทยใช้ผลสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไปอ่อนๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำดื่ม แก้คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ Asperuloside

กระบือเจ็ดตัว

กระบือเจ็ดตัว

กระบือเจ็ดตัวชื่อวิทยาศาสตร์ : Excoecaria cochinchinensis Lour.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กะเบือ, กำลังกระบือ, ลิ้นกระบือ

รูปลักษณะ : กระบือเจ็ดตัว เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง รูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 4-13 ซม. หลังใบสีเขียว ท้องใบสีแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมีย มีเพียง 2-3 ดอก ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู

สรรพคุณของ กระบือเจ็ดตัว : ใบ ใช้ใบตำกับเหล้าคั้นน้ำ กินเป็นยาขับเลือด และน้ำคาวปลาหลังคลอด การทดลองในสัตว์ พบว่าสารสกัดด้วย แอลกอฮอล์มีฤทธิ์บีบมดลูก

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ผักชีล้อม

ผักชีล้อมชื่อวิทยาศาสตร์ : Oenanthe stolonifera Wall.
ชื่อวงศ์ : APIACEAE
ชื่ออื่น : ผักอันอ้อ

รูปลักษณะ : ผักชีล้อม เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 60 ซม. ชอบขึ้นในน้ำและที่ชื้นแฉะ ลำต้นกลวง อวบน้ำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปหอก กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีขาว ก้านดอกย่อยยาวเท่ากัน ผลแห้ง แตกได้ รูปไข่กลับ

สรรพคุณของ ผักชีล้อม : ทั้งต้น ใช้แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เป็นส่วนผสมในตำรับยาอาบ-อบสมุนไพร เพื่อรักษาเหน็บชา ขับเหงื่อ

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บัวบก

บัวบกชื่อวิทยาศาสตร์ : Asiatic Pennywort, Tiger Herbal, Centella asiatica (Linn.) Urban
ชื่อวงศ์ : APIACEAE
ชื่ออื่น : ผักแว่น, ผักหนอก

รูปลักษณะ : บัวบก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ บัวบก : ใบสด ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (Keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด Madecassic, กรด Asiatic และ Asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบัน มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

ลั่นทมแดง

ลั่นทมแดงชื่อวิทยาศาสตร์ : West Indian Red Jasmine, Plumeria rubar Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

รูปลักษณะ : ลั่นทมแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 20-25 ซม. ดอกช่อ กระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีแดง เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล เมล็ดมีขนสีขาว

สรรพคุณของ ลั่นทมแดง : ฝัก ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร เช่นเดียวกับฝักลั่นทมขาว

ลั่นทมขาว

ลั่นทมขาวชื่อวิทยาศาสตร์ : Evergreen Frangipani, Graveyard Flower, Plumeria obtusa Linn.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

รูปลักษณะ : ลั่นทมขาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 20-32 ซม. ดอกช่อ กระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล เมล็ดมีขนสีขาว

สรรพคุณของ ลั่นทมขาว : ฝัก ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

ยี่หุบ

ยี่หุบชื่อวิทยาศาสตร์ : Magnolia coco (Lour.) DC.
ชื่อวงศ์ : MAGNOLIACEAE
ชื่ออื่น : ยี่หุบหน, ยี่หุบน้อย

รูปลักษณะ : ยี่หุบ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 6-8 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกเดี่ยวหรือ ออกเป็นช่อสั้นๆ ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวนวล มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม

สรรพคุณของ ยี่หุบ : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

ไฟใต้ดิน

ไฟใต้ดินชื่อวิทยาศาสตร์ : Rose-colored Leadwort, Plumbago indica Linn.
ชื่อวงศ์ : PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น : ปิดปิวแดง, ไฟใต้ดิน

รูปลักษณะ : ไฟใต้ดิน เป็นไม้พุ่ม สูง 0.8-1.5 เมตร ลำต้นกลมเรียบ มีสีแดงบริเวณข้อ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีต่อม ซึ่งเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว กลีบดอกสีแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ ไฟใต้ดิน : รากแห้ง ใช้ขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร พบว่ามีสาร Plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร แต่ควรระวังในการใช้ เนื่องจาก Plumbagin ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และอาจเป็นพิษได้

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดงชื่อวิทยาศาสตร์ : Rose-colored Leadwort, Plumbago indica Linn.
ชื่อวงศ์ : PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น : ปิดปิวแดง, ไฟใต้ดิน

รูปลักษณะ : เจตมูลเพลิงแดง เป็นไม้พุ่ม สูง 0.8-1.5 เมตร ลำต้นกลมเรียบ มีสีแดงบริเวณข้อ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีต่อม ซึ่งเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว กลีบดอกสีแดง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ เจตมูลเพลิงแดง : รากแห้ง ใช้ขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร พบว่ามีสาร Plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร แต่ควรระวังในการใช้ เนื่องจาก Plumbagin ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และอาจเป็นพิษได้

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูกชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma xanthorrhiza Roxb.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

รูปลักษณะ : ว่านชักมดลูก เป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร หัวใต้ดินขนาดใหญ่ อาจยาวถึง 10 ซม. เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอก กว้าง 15-20 ซม. ยาว 40-90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15-20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ ว่านชักมดลูก : เหง้า ใช้เหง้ารักษาอาการประจำเดือนมาผิดปกติ ช่วยย่อยอาหาร

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กะลา

กะลาชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia allughas Rosc.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : กะลา, ข่าน้ำ

รูปลักษณะ : กะลา เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน กลิ่นหอม แตกกอ สูงได้ถึง 1 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 4-7 ซม. ยาว 12-20 ซม. ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบเป็นแผ่น เรียงอัดแน่นคล้ายลำต้นบนดิน สีเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แผ่เป็นแผ่นคล้ายกลีบดอกสีขาว มีลายเส้นตามขวาง สีน้ำตาลส้ม ผลแห้งแตกได้ รูปทรงกลม เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของ กะลา : เมล็ด มีรสเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับน้ำนม แก้คลื่นไส้ อาเจียน ขับลม