วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ยอ

ยอชื่อวิทยาศาสตร์ : Indian Mulberry, Morinda citrifolia Linn.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น : มะตาเสือ, ยอบ้าน

รูปลักษณะ : ยอ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่น เป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง

สรรพคุณของ ยอ : ผล ตำรายาของเวียดนาม ระบุว่า ผลเป็นยาขับเลือดต่างๆ ขับประจำเดือนด้วย ยาไทยใช้ผลสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไปอ่อนๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำดื่ม แก้คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ Asperuloside

กระบือเจ็ดตัว

กระบือเจ็ดตัว

กระบือเจ็ดตัวชื่อวิทยาศาสตร์ : Excoecaria cochinchinensis Lour.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กะเบือ, กำลังกระบือ, ลิ้นกระบือ

รูปลักษณะ : กระบือเจ็ดตัว เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง รูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 4-13 ซม. หลังใบสีเขียว ท้องใบสีแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมีย มีเพียง 2-3 ดอก ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู

สรรพคุณของ กระบือเจ็ดตัว : ใบ ใช้ใบตำกับเหล้าคั้นน้ำ กินเป็นยาขับเลือด และน้ำคาวปลาหลังคลอด การทดลองในสัตว์ พบว่าสารสกัดด้วย แอลกอฮอล์มีฤทธิ์บีบมดลูก

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ผักชีล้อม

ผักชีล้อมชื่อวิทยาศาสตร์ : Oenanthe stolonifera Wall.
ชื่อวงศ์ : APIACEAE
ชื่ออื่น : ผักอันอ้อ

รูปลักษณะ : ผักชีล้อม เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 60 ซม. ชอบขึ้นในน้ำและที่ชื้นแฉะ ลำต้นกลวง อวบน้ำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปหอก กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีขาว ก้านดอกย่อยยาวเท่ากัน ผลแห้ง แตกได้ รูปไข่กลับ

สรรพคุณของ ผักชีล้อม : ทั้งต้น ใช้แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เป็นส่วนผสมในตำรับยาอาบ-อบสมุนไพร เพื่อรักษาเหน็บชา ขับเหงื่อ

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บัวบก

บัวบกชื่อวิทยาศาสตร์ : Asiatic Pennywort, Tiger Herbal, Centella asiatica (Linn.) Urban
ชื่อวงศ์ : APIACEAE
ชื่ออื่น : ผักแว่น, ผักหนอก

รูปลักษณะ : บัวบก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ บัวบก : ใบสด ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (Keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด Madecassic, กรด Asiatic และ Asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบัน มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย