วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พญาปล้องทอง

พญาปล้องทองชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด, พญาปล้องคำ, พญาปล้องดำ, พญายอ, เสลดพังพอน, เสลดพังพอนตัวเมีย

รูปลักษณะ : พญาปล้องทอง เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. สีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบสีเขียวติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ไม่ค่อยออกดอก ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ พญาปล้องทอง : ใบสด ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย ผื่นคัน โดยนำใบสด 5-10 ใบ ตำหรือขยี้ทา ใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กก. ปั่นละเอียด เติมแอลกอฮอล์ 70% 1 ลิตร หมัก 7 วัน แล้วกรอง ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำ ให้ปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง เติมกลีเซอรินเท่าตัว

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ผักบุ้งทะเล

ผักบุ้งทะเลชื่อวิทยาศาสตร์ : Goat's Foot Creeper, Ipomoea pes-caprae (Linn.) R. Br.
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

รูปลักษณะ : ผักบุ้งทะเล เป็นไม้ล้มลุก เลื้อยตามผิวดิน มักพบในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมียาวขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 7-11 ซม. ยาว 5-8 ซม. ค่อนข้างหนา โคนใบรูปหัวใจ ปลายเว้าลึก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ มี 4-6 ดอก กลีบดอกสีม่วงชมพู โคนติดกัน ปลายบานออกคล้ายปากแตร ผลแห้ง แตกได้ รูปกลมหรือรูปไข่

สรรพคุณของ ผักบุ้งทะเล : ใบ ใช้แก้พิษแมงกะพรุน นำใบสด 10-15 ใบ ตำละเอียด คั้นเอาน้ำ ทาแผลบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน หรือตำกับเหล้าใช้พอกก็ได้ พบว่ามีสาร damascenone ที่มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ ต้านพิษแมงกะพรุนได้

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มะลิฝรั่งเศส

มะลิฝรั่งเศสชื่อวิทยาศาสตร์ : Spanish Jasmine, Catalonian Jasmine, Jasminum officinale Linn. f. var.grandiflorum (Linn.) Kob.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น : จัสมิน, พุทธชาดก้านแดง

รูปลักษณะ : มะลิฝรั่งเศส เป็นไม้เถา ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย5-7 ใบ รูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว หลังกลีบสีแดง มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของ มะลิฝรั่งเศส : ดอกสด มีน้ำมันหองระเหย ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กลั่นไอน้ำทำเป็นหัวน้ำหอม สำหรับแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มะลิลา

มะลิลาชื่อวิทยาศาสตร์ : Arabian Jasmine, Jasminum sambac Ait.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น : มะลิซ้อน, ข้าวแตก, มะลิ, มะลิขี้ไก่, มะลิป้อม, มะลิหลวง

รูปลักษณะ : มะลิลา เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ใบประกอบ ชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. สีเขียวแกมเหลือง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม มะลิลามีกลีบดอกชั้นเดียว ส่วนมะลิซ้อนมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ มะลิลา : ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ปรุงยาหอม ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ไข้

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มณฑา

มณฑาชื่อวิทยาศาสตร์ : Magnolia, Talauma candollii Bl.
ชื่อวงศ์ : MAGNOLIACEAE
ชื่ออื่น : ยี่หุบ, จอมปูน, จำปูนช้าง

รูปลักษณะ : มณฑา เป็นไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 8-12 ซม. ยาว 15-18 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม

สรรพคุณของ มณฑา : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พิมเสนต้น

พิมเสนต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pogostemon cablin (Blanco) Benth.
ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE

รูปลักษณะ : พิมเสนต้น เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-75 ซม. ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 7-10 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวประม่วง ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ พิมเสนต้น : ใบ ใบและต้นมีกลิ่นหอม ยาไทยใช้ใบปรุงเป็นยาลดไข้

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พิกุล

พิกุลชื่อวิทยาศาสตร์ : Bullet Wood, Mimusops elengi Linn.
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่ออื่น : กุน, แก้ว, ซางดง, พิกุลป่า

รูปลักษณะ : พิกุล เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-25 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-12 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก 2-6 ดอก ที่ซอกใบ กลีบดอกสีนวล กลิ่นหอม ผลเป็นผลสด รูปไข่

สรรพคุณของ พิกุล : ดอก ดอกมีกลิ่นหอม จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ น้ำมันหอมระเหยจากดอก ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เปลือกต้น ต้มอมกลั้วคอ แก้โรคเหงือกอักเสบ เนื้อไม้ เนื้อไม้ที่ราลง มีน้ำตาลเข้มประขาว มีกลิ่นหอม เรียกว่า &Quot;ขอนดอก&Quot; ใช้บำรุงตับ ปอด หัวใจ และบำรุงครรภ์