วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

ไทร

ไทร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus benjamina Linn.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : ไทร, ไทรกระเบื้อง, ไทรย้อย

รูปลักษณะ : ไทร เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 10 เมตร มีรากอากาศ น้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 1.5-6 ซม. ยาว 3-12 ซม. ดอกช่อ เกิดภายในฐานรองดอก ที่มีรูปร่างกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่ที่ซอกใบ แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ผลสด รูปกระสวย รูปไข่ รูปไข่กลับหรือรูปค่อนข้างกลม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส้มและแดงเข้มตามลำดับ

สรรพคุณของ ไทร : ราก เป็นยาบำรุงน้ำนม รากอากาศขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอย หรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย)

พรมมิแดง

พรมมิแดงชื่อวิทยาศาสตร์ : Joyweed, Alternanthera bettzickiana (Regel) Nichols.
ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE
ชื่ออื่น : ผักเป็ดฝรั่ง, พรมมิแดง, ผักโหมแดง

รูปลักษณะ : พรมมิแดง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง สูง 10-20 ซม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1-5 ซม. สีแดง ดอกช่อ รูปกระบอก หรือทรงกลมออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบรวมสีขาวนวล ผลแห้ง รูปคล้ายโล่ เมล็ดสีน้ำตาล

สรรพคุณของ พรมมิแดง : ทั้งต้น รับประทานเป็นผักช่วยขับน้ำนม ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้ ตำพอกรักษาแผล

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

มะโห่ง

มะโห่งชื่อวิทยาศาสตร์ : Castor Oil Plant, Castor Bean, Ricinus communis Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : มะละหุ่ง, มะโห่ง, มะโห่งหิน, ละหุ่งแดง

รูปลักษณะ : มะโห่ง เป็นไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร ใบเดี่ยว รูปผ่ามือกว้างและยาว 15-30 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู เปลือกเมล็ดสีน้ำตาล มีหลายชนิด ขึ้นกับพันธุ์ละหุ่ง

สรรพคุณของ มะโห่ง : ใบ เป็นยาขับน้ำนม แก้ช้ำรั่ว (อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่) รากสุมไฟให้เป็นถ่าน ใช้เป็นยาแก้พิษ แก้ไข้เซื่องซึม

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

ไทรย้อยใบแหลม

ไทรย้อยใบแหลมชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus benjamina Linn.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : ไทร, ไทรกระเบื้อง, ไทรย้อย

รูปลักษณะ : ไทรย้อยใบแหลม เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 10 เมตร มีรากอากาศ น้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 1.5-6 ซม. ยาว 3-12 ซม. ดอกช่อ เกิดภายในฐานรองดอก ที่มีรูปร่างกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่ที่ซอกใบ แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ผลสด รูปกระสวย รูปไข่ รูปไข่กลับหรือรูปค่อนข้างกลม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส้มและแดงเข้มตามลำดับ

สรรพคุณของ ไทรย้อยใบแหลม : ราก เป็นยาบำรุงน้ำนม รากอากาศขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอย หรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย)

เร่ว

เร่วชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia allughas Rosc.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : กะลา, ข่าน้ำ

รูปลักษณะ : เร่ว เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน กลิ่นหอม แตกกอ สูงได้ถึง 1 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 4-7 ซม. ยาว 12-20 ซม. ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบเป็นแผ่น เรียงอัดแน่นคล้ายลำต้นบนดิน สีเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แผ่เป็นแผ่นคล้ายกลีบดอกสีขาว มีลายเส้นตามขวาง สีน้ำตาลส้ม ผลแห้งแตกได้ รูปทรงกลม เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของ เร่ว : เมล็ด มีรสเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับน้ำนม แก้คลื่นไส้ อาเจียน ขับลม